ด้วยประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 240 ปี ที่นี่ กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทย จึงเป็นดินแดนที่เต็มไปด้วย ความลับ มากมายที่ซ่อนอยู่ KTC จึงชวน เปรียวออนไลน์ ออกไปไขความลับแห่งพระนคร กับย่านชุมชนชาวจีนที่อยู่กันมาตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์ ย่านตลาดน้อย

โดยสถานที่แรกที่เราไปเยือนเป็นศาสนสถานซึ่งแสดงถึงสัมพันธไมตรีอันยาวนานระหว่างไทยกับเวียดนาม วัดอุภัยราชบำรุง หรือวัดญวนตลาดน้อย เป็นอีก 1 ความลับที่เราได้ค้นพบว่าในย่านชุมชนชาวจีนแห่งนี้ ก็ได้มีชาวเวียดนามอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินราชวงศ์จักรีตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์เช่นเดียวกันกับชาวจีน

วัดอุภัยราชบำรุง

วัดอุภัยราชบำรุง หรือวัดญวนตลาดน้อย มีชื่อภาษาเวียดนามว่า คั้นเยิงตื่อ เป็นวัดญวนแรก ๆ ในแผ่นดินสยาม ที่สร้างขึ้นโดยชาวเวียดนามที่อพยพเข้ามาในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้น และได้รับพระราชทานที่ดินจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1

เป็นวัดพุทธมหายานอนัมนิกาย ที่มีสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานทั้งจีนและญวน

วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
วัดอุภัยราชบำรุง
พระครูคณานัมสมณาจารย์ (องฮึง) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายรูปแรก และอดีตเจ้าอาวาสวัดอุภัยราชบำรุง

โดยชื่อวัด อุภัยราชบำรุง ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งมีความหมายว่า วัดที่ได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากพระมหากษัตริย์ 2 พระองค์ คือตัวพระองค์เองและพระราชบิดา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4

พระบรมสารีริกธาตุที่คาดว่าได้รับพระบรมราชูปถัมภ์จากรัชกาลที่ 4 และ 5

ที่ต่อมายังคงเป็นศาสนสถาน แต่เป็นของฝั่งชาติเรา วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร หรือวัดสำเพ็ง ศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยที่อยู่มาตั้งแต่โบร่ำโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยา

วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
ภายในพระอุโบสถวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
พระพุทธมหาชนก พระพุทธปฏิมาประธานทรงเครื่องอย่างพระจักรพรรดิราช ประดิษฐานในพระอุโบสถวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
ภายในพระอุโบสถวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร
วัดปทุมคงคาราชวรวิหาร

ซึ่งความลับที่หลับใหล ณ ที่แห่งนี้ ที่อยากจะชวนชาวเปรียวออนไลน์ให้ไปค้นหาก็คือ แท่นประหารกรมหลวงรักษ์รณเรศ หรือพระนามเดิมว่าหม่อมไกรสร และเป็นพระนามหลังถูกถอดยศฐาบรรดาศักดิ์ ก่อนนำไปประหารชีวิตด้วยวิธีประหารเจ้านาย คือใส่ถุงกำมะหยี่แล้วทุบด้วยท่อนจันทร์ โดยกระทำการสำเร็จโทษที่ลานวัดแห่งนี้ เป็นก้อนหินขนาดใหญ่ที่ใช้รองทุบ ปัจจุบันมีการสร้างศาลกรมหลวงรักษ์รณเรศครอบแท่นประหารนี้ไว้ภายในวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร ลองไปตามหากันดูนะคะ

แท่นประหารกรมหลวงรักษ์รณเรศ

แวะไป 2 วัด ก็หมดเวลาช่วงเช้าพอดี ถึงเวลาที่ต้องหาของอร่อยทานเป็นมื้อกลางวัน จากวัดปทุมคงคาราชวรวิหาร เดินใกล้ ๆ ผ่านบ้านเรือนที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของย่านเมืองเก่า เราก็ได้พบกับ ฮงเซียงกง ร้านห้องแถวสีน้ำเงินคราม คาเฟ่ร่วมสมัยที่อบอวลไปด้วยกลิ่นอายย้อนยุค ที่ไม่ว่าจะหันไปมุมไหนของร้านก็มีเสน่ห์ชวนมอง

ฮงเซียงกง
บรรยากาศภายในร้านฮงเซียงกง
บรรยากาศภายในร้านฮงเซียงกง
บรรยากาศภายในร้านฮงเซียงกง
บรรยากาศภายในร้านฮงเซียงกง

แต่ก่อนที่จะไปลิ้มรสของอร่อยริมโค้งน้ำเจ้าพระยา เราได้รับโอกาสพิเศษในการเข้าชมแกลอรี่เฟอร์นิเจอร์ไม้แกะสลักโบราณอายุกว่า 200 ปี ภายในส่วนของอาคารที่ถูกเรียกว่า ฮงเฮ้าส์ (Hong House) ซึ่งตามปกติไม่ได้มีการเปิดให้เข้าชมโดยทั่วไป แต่เราแอบถามเจ้าของร้านมาให้แล้วว่าหากติดต่อขอเข้าชมเป็นหมู่คณะก็มีลุ้น ต้องลองสอบถามทางร้านล่วงหน้านะคะ แต่ตอนนี้ชมภาพที่เราเก็บมาฝากกันไปพลาง ๆ ก่อนได้เลยค่ะ

ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์
ฮงเฮ้าส์

เมนูของร้านฮงเซียงกงที่อยากจะแนะนำ จานแรกคือ Smoke Duck Leg น่องเป็ดรมควันไม้ธรรมชาติ ก่อนนำไปทอดแต่ยังคงความนุ่มที่ด้านใน ทานคู่กับน้ำจิ้ม 2 แบบ เกลือ-พริกไทย และน้ำจิ้มพริกตำ เสิร์ฟพร้อมเฟรนช์ฟรายส์

Smoke Duck Leg

ส่วนใครที่ไม่ทานเป็ดแนะนำเป็น Hungry All-Day เมนูอาหารเช้าที่สามารถแวะมาลิ้มรสได้ตลอดทั้งวัน มีทั้งออมเล็ต, ไส้กรอกเวียนนาทอด, ถั่วขาวต้มซอสมะเขือเทศ, เฟรนช์ฟรายส์พร้อมซีซาร์ดิป เสิร์ฟคู่กับผักสด

Hungry All-Day

ก่อนเดินทางต่อขอแวะออกไปชมบรรยากาศริมแม่น้ำเจ้าพระยาสักหน่อยค่ะ ถ้ามาช่วงเย็น ๆ ได้นั่งรับลมริมน้ำคงเป็นอะไรที่ชิลมาก ๆ แต่แดดตอนกลางวันในหน้าร้อนแบบนี้สู้ไม่ไหวค่ะ ออกมาถ่ายรูปอย่างเดียวก็พอเนอะ

ฮงเซียงกง
ฮงเซียงกง

จากร้านฮงเซียงกงเดินไม่กี่ก้าวก็ถึง ศาลเจ้าโจซือก๋ง หรือวัดซุ่นเฮงยี่ ศาลเจ้าที่เก่าแก่มากที่สุดในย่านตลาดน้อยแห่งนี้ อายุประมาณ 200 ปี เห็นจะได้ ลักษณะตัวอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบศิลปะฮกเกี้ยน ตามเทพนิยายจีนโบราณ ตกแต่งหลังคาและผนังด้วยตุ๊กตาปูนปั้นจีนประดับกระเบื้อง มีไม้แกะสลักอย่างวิจิตรสวยงามประดับตามขื่อหลังคา, คาน, ช่องลม และแท่นบูชา

ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจวซือกง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง
ศาลเจ้าโจซือก๋ง

ซึ่งความลับที่ชาวตลาดน้อยรู้ แต่คนทั่วไปอาจยังไม่รู้ก็คือ ที่นี่มีเทพประธานของศาลเจ้า คือ เทพโจวซือกง ซึ่งเป็นพระหมอที่ชาวจีนฮกเกี้ยนเคารพศรัทธาอย่างมาก มีลักษณะเด่นคือทั้งองค์เป็นสีดำ ต่างจากเทพองค์อื่น ๆ ที่เรามักจะเห็นเป็นสีทอง

เทพโจวซือกง
เทพโจวซือกง
เทพโจวซือกง

จากศาลเจ้าโจซือก๋ง เราเดินย้อนขึ้นมา ผ่านหน้าร้านฮงเซียงกง ผ่านบ้านเรือนโบราณ ร้านรวงต่าง ๆ โดยที่มีมากเห็นจะเป็นพวกอะไหล่รถเก่า หรือที่บ้านเราเรียกว่า เซียงกง ตรงนี้เองที่อีก 1 ความลับได้กระจ่างขึ้นมาว่า “เซียงกง” ไม่ได้แปลว่าอะไหล่รถเก่า แต่เกิดจากการที่สมัยก่อนบริเวณรอบ ๆ ศาลเจ้าเซียงกง มีพวกร้านขายของเก่า, อะไหล่รถยนต์, จักรยาน และอะไหล่เครื่องจักรต่าง ๆ อยู่มาก เวลาใครจะไปซื้ออะไหล่จึงมักเรียกติดปากกันว่า “ไปเซียงกง” ส่วนความหมายจริง ๆ ของคำนี้มาจากภาษาจีนแต้จิ๋ว โดย เซียง แปลว่า เซียน ส่วน กง แปลว่า ปู่

เดินยังไม่ทันเหนื่อยก็มาถึง เฮงเส็ง ร้านทำเบาะไหว้เจ้าแห่งสุดท้ายในประเทศไทย ที่มีอายุกว่าร้อยปี เป็นเบาะคุกเข่าไหว้เจ้าแบบดั้งเดิมที่สืบทอดภูมิปัญญาจากบรรพชนจีนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งยังคงเอกลักษณ์ของการทำด้วยมือทุกขั้นตอน

เฮงเส็ง
เฮงเส็ง
เบาะไหว้เจ้าร้านสุดท้ายในไทยที่ยังคงเอกลักษณ์ของการทำด้วยมือทุกขั้นตอน
เบาะไหว้เจ้าร้านสุดท้ายในไทยที่ยังคงเอกลักษณ์ของการทำด้วยมือทุกขั้นตอน

ซึ่งความลับของเบาะไหว้เจ้าที่ถ้าใครไม่สังเกตก็อาจจะไม่ทราบว่ามีเพียง 3 สี เท่านั้น และถูกใช้งานตามวาระที่ต่างกันไป โดยสีแดงจะถูกใช้ในงานมงคล, สีเหลืองสำหรับเทศกาลกินเจ ส่วนสีฟ้าจะถูกใช้ในพิธีกงเต๊ก

นอกจากเบาะไหว้เจ้าแล้ว ไม่ว่าจะที่นอน, หมอน, มุ้ง ไปจนถึงสินค้าแฮนด์เมดต่าง ๆ ที่นี่ก็รับทำ อีกทั้งยังมีเวิร์กชอปทำเบาะใบเล็ก, เพ้นท์หน้ากาก หรือแม้กระทั่งการทำอาหารให้ได้สนุกกันอีกด้วย

ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จากร้านเฮงเส็ง
เบาะไหว้เจ้าสีแดง สัญลักษณ์แห่งความเป็นมงคล ในรูปแบบพวงกุญแจ
หน้ากากเพ้นท์

บ่ายคล้อยคอยแต่หิว ต้องหาของอร่อยรองท้องสักหน่อย KTC บอกว่าแถว ๆ นี้มีร้านลับในมุมตึก ชื่อร้านเฟิงจูหมูเจริญ เป็นร้านเกี๊ยวซ่าหน้าเปิดที่ตกแต่งสไตล์บ้านจีนย้อนยุคให้ได้ฟีลเหมือนไปทานเกี๊ยวที่ฮ่องกงอย่างไรอย่างนั้น เป็นเกี๊ยวที่มีลักษณะเปิดหน้าให้เห็นไส้เเน่น ๆ ด้านใน ห่อด้วยแป้งเกี๊ยวสูตรโฮมเมดที่เน้นความบางเเต่หนึบ ซึ่งเมนูต่าง ๆ ล้วนเป็นการผสมผสานระหว่างอาหารไทยกับอาหารจีน ด้วยคอนเซ็ปต์น่ารัก ๆ ว่า อร่อยแบบทีน ๆ ไจย ๆ หรือก็คือ ไทย ๆ จีน ๆ นั่นเองค่ะ

เฟิงจู-หมูเจริญ
เกี๊ยวซ่าหน้าเปิด

ปิดท้าย 1 Day Trip นี้ ที่ บ้านเลขที่ 1 อดีตสำนักงานบริษัทกลั่นสุราของฝรั่งเศสในสมัยรัชกาลที่ 5 อาคารอายุกว่าร้อยปีที่เป็นตัวแทนสถาปัตยกรรมยุคนีโอคลาสสิคที่ถูกต้องอย่างแท้จริง ซึ่งภายในได้มีร้านขนมสไตล์ฝรั่งเศษ Café Eiffel มาเปิดป๊อปอัปอยู่ด้วย

บ้านเลขที่ 1
บ้านเลขที่ 1
ถ่ายรูปเครื่องดื่มจาก Café Eiffel หน้าบ้านเลขที่ 1 แล้วโพสต์ IG เก๋ ๆ

The Secret of พระนคร ทริปหน้า KTC จะพาพวกเราชาวเปรียวออนไลน์ออกไปไขความลับกันที่ย่านไหนในเมืองหลวงแห่งนี้ ต้องติดตามนะคะ