Advertisement
Priew Head Logo
Priew Head Logo
previous arrow
next arrow
หน้าแรก SOCIAL NEWS สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตกรรมภาคกลาง ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตกรรมภาคกลาง ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตกรรมภาคกลาง ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

0

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตกรรมภาคกลาง ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร

 
 

วันที่ 4 พฤษภาคม 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปยังหอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร โดยมี พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ นางจตุพร ชมเชิงแพทย์ นายกสมาคมภริยาทหารเรือ นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน นางจิณณารัชช์ สัมพันธรัตน์ ประธานชมรมแม่บ้านพัฒนาชุมชน ข้าราชการ และประชาชนในพื้นที่ เฝ้ารับเสด็จ ฯ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปทอดพระเนตรการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าและงานหัตกรรมภาคกลาง ณ หอประชุมกองทัพเรือ ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร


โอกาสนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ทอดพระเนตรนิทรรศการและการจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมชุมชนภาคกลาง โดยมีผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP และกลุ่มสมาชิกโครงการศิลปาชีพ ประเภทผ้าและหัตถกรรม ในพื้นที่ภาคกลางกว่า 50 กลุ่ม เข้าร่วมจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ โดยได้รับเกียรติจากคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย และดีไซน์เนอร์ที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ อาทิ นางศรินดา จามรมาน นักวิชาการอิสระ นายธนันท์รัฐ ธนเสฏฐการย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย นายธีระพันธ์ วรรณรัตน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบแฟชั่น) ประจำปี 2562 นายกุลวิทย์ เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหารนิตยสารโว้กประเทศไทย นายศิริชัย ทหรานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทย เจ้าของแบรนด์ THEATRE นายพลพัฒน์ อัศวะประภา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ASAVA นายภูภวิศ กฤตพลนารา นักออกแบบเจ้าของแบรนด์ ISSUE คุณวิชระวิชญ์ อัครสันติสุข ผู้ก่อตั้งแบรนด์ WISHARAWISH ดร.กรกลด คำสุข รองคณบดีฝ่ายนวัตกรรมทางปัญญาและวิจัย วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ผศ.ดร.รวิเทพ มุสิกะปาน ประธานหลักสูตรแฟชั่น สิ่งทอและเครื่องตกแต่ง วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ นายนุวัฒน์ พรมจันทึก ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้อมสีธรรมชาติ คณะผู้บริหารกรมการพัฒนาชุมชน และข้าราชการในสังกัดกรมการพัฒนาชุมชน เฝ้ารับเสด็จฯ

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า โครงการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภูมิปัญญาผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชน จัดขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของจังหวัดในพื้นที่ 4 ภูมิภาค ประชาสัมพันธ์ สร้างการรับรู้ ผลงานอัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทยของกลุ่มผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) ในพื้นที่ 4 ภูมิภาค เป็นการเพิ่มช่องทางการตลาดให้กับกลุ่มผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ในการจำหน่ายผ้าไทย ผลิตภัณฑ์ผ้าไทย และงานหัตถกรรมชุมชน ซึ่งผู้ผลิต ผู้ประกอบการ OTOP ที่มีผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทย จะได้รับความรู้สำหรับยกระดับพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทรนด์สีสัน และเทรนด์แฟชั่นผ้าไทย การออกแบบคอลเลกชั่นผ้าไทย การเลือกใช้เส้นใยที่มีคุณภาพ การพัฒนาบรรจุภัณฑ์สำหรับผ้าไทย และการสร้างแบรนด์จากผู้เชี่ยวชาญด้านผ้าไทยผู้มีผลงานผลิตภัณฑ์อัตลักษณ์ศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไทย ทำให้มีองค์ความรู้นำไปออกแบบและตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายที่มีความทันสมัย ตรงกับความต้องการของผู้สวมใส่ เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย ทุกโอกาส ทั้งยังได้รับแนวทางการผลิตผืนผ้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมตามหลัก Bio-Circular-Green Economy: BCG เป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการส่งเสริมให้คนในชุมชนพึ่งตนเองได้ด้วย

นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวต่ออีกว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนและภาคีเครือข่าย มีแนวทางการดำเนินงานในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนในชุมชนอื่น ๆ ในทั่วพื้นที่ทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะในวันนี้ในพื้นที่ภาคกลาง กลุ่มสมาชิกโครงการศิลปาชีพ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และช่างทอผ้า ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการฯ เพื่อให้นำองค์ความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดให้เกิดความแพร่หลาย เป็นการฟื้นฟูภูมิปัญญาพื้นถิ่นในการสร้างสรรค์ผืนผ้าด้วยความร่วมมือในพื้นที่ภาคกลาง มีเข้าร่วมกว่า 50 กลุ่ม ซึ่งทุกกลุ่มที่เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ล้วนได้รับพระกรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ในวโรกาสที่ทรงนำประสบการณ์ส่วนพระองค์ ทั้งจากการทรงงานและทรงศึกษาผ้าทอพื้นเมือง และพระปรีชาสามารถด้านการออกแบบที่นำสมัย ถ่ายทอดสู่สมาชิกกลุ่มทอผ้าและช่างทอผ้าที่เฝ้ารับเสด็จฯ และถวายรายงานส่งการบ้านผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาตามที่ทรงมีพระวินิจฉัย ที่สามารถนำไปออกแบบเสื้อผ้าและผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีความร่วมสมัย และนำไปประยุกต์ใช้ นำไปสู่การสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้กับช่างทอผ้าทุกท้องถิ่น ท้องที่ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อย่างยั่งยืน

“กระทรวงมหาดไทย ได้น้อมนำพระดำริด้วยการนำเอาวิชาการสมัยใหม่ในเรื่องของการออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging) การสร้างแบรนด์ (Branding) และช่องทางการจำหน่าย (Marketing) เข้ามาช่วยยกระดับคุณภาพและมูลค่าของผ้า ทำให้ผู้ประกอบการได้พัฒนาชิ้นงานที่มีคุณภาพ นำมาซึ่งรายได้ที่เพิ่มพูน สามารถนำไปเลี้ยงดูครอบครัวได้ ทำให้วงการผ้าไทย มีลวดลายที่หลากหลาย เกิดการผสมผสานวัฒนธรรม มีความร่วมสมัยและเป็นสากล และขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนคนไทยทุกคน ได้ร่วมกันภาคภูมิใจในความเป็นไทยด้วยการสวมใส่ผ้าไทยในทุกวัน ทุกโอกาส เพื่อทำให้ผ้าไทยได้มีชีวิตที่ยืนยาว คนทอผ้าได้มีอาชีพที่มั่นคง มีรายได้จุนเจือสมาชิกในครอบครัว อันทำให้คนไทยอีกหลายล้านคนมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน” อธิบดี พช. กล่าวในช่วงท้าย