น้ำตาลเร่งมะเร็งเต้านม ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมควรหลีกเลี่ยงน้ำตาลและของหวานจริงหรือไม่? ควรปฏิบัติอย่างไร?


ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมมักได้ยินจากแหล่งต่างๆว่า การรับประทานน้ำตาลหรืออาหาร/เครื่องดื่มที่ใส่น้ำตาลมากๆ
เพิ่มความเสี่ยงในการกลับมาของมะเร็งเต้านม โดยความเชื่อที่ว่า เซลล์มะเร็งเต้านมใช้น้ำตาลเป็นอาหารเพื่อเจริญ
เติบโต ถ้าเราลดหรืองดน้ำตาล เซลล์มะเร็งก็จะอดอาหารหยุดการเติบโตหรือแพร่กระจายได้ เรื่องเหล่านี้เป็นความ
จริงหรือไม่?
ความจริงคือว่า น้ำตาลที่เราใส่อาหาร รับประทานทุกวันนี้คือน้ำตาลชูโครส ซึ่งประกอบด้วยกลูโคสและฟรุกโตส
แทบทุกเซลล์ปรกติในร่างกายเรา จำเป็นต้องอาศัยพลังงานในการมีชีวิตและทำงานตามหน้าที่ปรกติ
เชลล์ทุกเซลล์เปลี่ยนสารอาหารที่ร่างกายรับเข้าไป เพื่อเปลี่ยนเป็นกลูโคสและสร้างสารพลังงานที่เรียกว่า ATP ดัง
นั้น กลูโคสจึงเป็นสารตั้งต้นของแหล่งพลังงานที่ทุกเชลล์ในร่างกายต้องใช้ โดยแหล่งที่มาจากอาหารทั้งหมดที่เรา
ทาน ทั้งน้ำตาล แป้ง โปรตีน และไขมัน ทั้งหมดถูกเปลี่ยนเป็นกลู โคสเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของเซลล์ทั้งร่างกาย
เนื่องจากเซลล์มะเร็งแบ่งตัวเร็วและใช้พลังงานมาก หมายถึงว่าเซลล์มะเร็งต้องการสารอาหารอื่นๆด้วยทั้งโปรตีน ไข
มันและแร่ธาตุต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะน้ำตาลเท่านั้นดังนั้นความเชื่อที่ว่า “น้ำตาลให้พลังงานต่อเซลล์มะเร็ง”
และ “การหยุดทานน้ำตาล ทำให้มะเร็งหยุดการเจริญเติบโตลุกลาม” จึงไม่ถูกต้อง นอกจากนั้นเซลล์ปรกติอื่นๆ
ในร่างกาย ก็จำเป็นต้องใช้น้ำตาลเพื่อให้ทำงานได้ตามปรกติ


ผลงานวิจัยมากมายพบว่าการรับประทานอาหารที่ไม่มีน้ำตาล (ใช้น้ำตาลเทียม หรือไม่ใช้น้ำตาลเลย) ไม่ช่วยลด
ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง และไม่ลดการกลับเป็นซ้ำหรือการลุกลามของมะเร็งเต้านม นอกจากนั้นการจำกัดหรืองด
อาหารพวกแป้งและคาร์โบไฮเดรต มีผลเสียต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว ทำให้ขาดสารอาหารและไฟเบอร์ที่
จำเป็นต่อร่างกายสิ่งที่สำคัญมากกว่าสำหรับสตรีทั่วไปและผู้ป่วยมะเร็งเต้านม คือควรมีน้ำหนักตัวที่เหมาะสม ไม่อ้วนหรือน้ำหนักเกินเพราะความอ้วนส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง
อย่างน้อย 13 ชนิด (มะเร็งเต้านม ลำใส้ใหญ่ มดลูก ไตหลอดอาหาร … ดังนั้นการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่
โดยมีสัดส่วนและแคลอรี่ที่เหมาะสม รวมทั้งการออกกำลังกายสม่ำเสมอ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกท่าน

ขอบคุณบทความความรู้ดีๆจากอาจารย์หมอพรชัย

ความรู้เรื่องมะเร็งเต้านม โดยหมอพรชัย อยู่ที่ โรงพยาบาลเจ้าพระยา กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย