ข้าวแช่ต้นตำรับที่เรือนนพเก้า สาธรซอย 6 เสิร์ฟในชุดเบญจรงค์ที่รังสรรค์1 ปีมีเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น!!

ถ้าเราพูดถึงถนนสาทรเราก็คงคิดถึงตึกสูงแหล่งรวมสถานที่ทำงานของชาวไทยและชาวต่างชาติและที่สำคัญแหล่งรวมร้านอาหารไทยระดับแนวหน้าที่ล่าสุดได้ต้อนรับร้านน้องใหม่เพิ่งครบรอบ 1 ปีไปเมื่อไม่นานมานี้ ร้านน้อองใหม่แต่ที่ไม่ใช่มือใหม่ในถนนสายอาหารไทย แต่ประสบความสำเร็จมาจากร้านอาหารอินเดีย Al Saray และร้านอาหารฝรั่งเศส Brasserie 9 ที่หลายคนยกนิ้วให้ ก่อนแตกไลน์สู่ “เรือนนพเก้า” ร้านอาหารไทยที่ชูเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมการกินแบบไทยโบราณไว้อย่างครบเครื่องถึงรสในบรรยากาศนั่งสบายสไตล์โมเดิร์น

รีวิว ข้าวแช่ที่ร้านอาหารเรือนนพเก้า – Ruen Noppagao

เดือนเมษายนนี้อากาศก็จะร้อนๆเช่นนี้ หากเราได้กินอะไรที่เย็นๆสดชื่น คงจะดีไม่น้อยนะคะ ข้าวแช่ก็เป็นอีกเมนูที่เหมาะกับการกินกันในช่วงฤดูร้อนมากที่สุด คนโบราณคิดได้ไงนะถ้าใครได้หาอ่านประวัติของข้าวแช่จะพบว่า แต่เดิมข้าวแช่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาเพื่อใช้ไหว้ผีไหว้เจ้า ต่อมาได้ถูกปรับสูตรต่างๆจนเหมาะกับการกิน ให้มีหน้าตาที่สวยงาม รสชาติที่น่ากิน กลิ่นที่ชวนให้ลิ้มลองมากขึ้นในสมัยนี้

ประวัติข้าวแช่ คร่าวๆนะคะ เป็นชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่น้ำเย็น ซึ่งมักเป็นน้ำดอกไม้ แล้วกินกับเครื่องกับข้าวต่าง ๆ เช่น ลูกกะปิ พริกหยวกสอดไส้ เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้ ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้ง และเครื่องผัดหวานต่าง ๆ นิยมรับประทานในหน้าร้อน ปัจจุบันอาจใส่น้ำแข็งในข้าวแช่ด้วย ข้าวแช่เดิมเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวมอญเรียกว่า  นิยมทำสังเวยเทวดาและถวายพระสงฆ์ในตรุษสงกรานต์ข้าวแช่เป็นที่รู้จักมากขึ้นจากครั้นเจ้าจอมมารดาซ้อนกลิ่น เจ้าจอมเชื้อสายมอญทาง เจ้าพระมหาโยธา ได้ติดตามรัชกาลที่ 4 ไปถวายราชการที่พระนครคีรี เมืองเชรบุรี และได้ถ่ายทอดการทำข้าวแช่แก่บ่าวไพร่จนแพร่หลายในจังหวัดเพชรบุรีและในราชสำนัก เมื่อสิ้นรัชกาลรัชกาลที่ 4แล้วในปี พ.ศ. 2453 แล้ว ข้าวแช่จึงได้เผยแพร่ไปนอกวังและถูกปรับปรุงเพิ่มจนกลายที่นิยมหลากหลายมากขึ้นคะ

ข้าวแช่ตำรับเรือนนพเก้ามีการปรับเปลี่ยนหลายๆสูตรที่ดีเข้าด้วยกันจนลงตัว ทำให้ถูกปากผู้ใหญ่ในสมัยนี้แม้ แต่คนรุ่นใหม่ก็สามารถเข้าถึงและรู้สึกรื่นรมณ์เวลากินค่ะ ลองแวะมากันนะคะบรรยากาศร้านและสถานที่ก็ก็น่านั่งมากคะ เก้าอี้โต๊ะ๔ุกจัดวางไว้อย่างเหมาะสมและหรูหร่าก็สมกับราคาอาหารคะ และที่สำคัญอยากจะบอกว่าราคาไม่แพงจริงๆคะ

โดยสูตรข้าวแช่และเครื่องเคียงนี้ต้องขอชื่นชมเชฟปิ๊กเจ้าของรางวัลเหรียญทองจากการแข่งขันทำอาหารที่มีจิตวิญญาณความเป็นพ่อครัวอาหารไทยอย่างแรงกล้า เราฟังเชฟเล่าเรื่องราวแต่ละขั้นตอนการทำจนเราคนทานก็นึกจินตนาการไปด้วยเลยคะ

ซึ่งปีนี้ทางเรือนนพเก้า สาทร ได้รังสรรค์สุดวิจิตรบรรจงลงในภาชนะที่ดูหรูหราล้ำค่า นั่นคือให้บริการด้วยเครื่องเบญจรงค์ลายดอกราชพฤกษ์ ในราคาเบญจรงค์ 15,999 บาทต่อ1ชุดทางร้านมีจำหน่ายด้วยคะ แต่ต้องสั่งจองนะคะเบญจรงค์ชุดนี้จัดทำโดยช่างเขียนชั้นบรมครูของการทำเครื่องเบญจรงค์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัตถุดิบชั้นเลิส รังสรรค์เป็น 3 คอร์ส

ปีนี้เสิร์ฟในชุดเบญจรงค์ที่รังสรรค์เฉพาะในปีนี้ จากที่ข้าวแช่ตำรับเรือนนพเก้า ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในปีที่ผ่านมากว่า 400 ชุดด้วยกัน เชฟบอกว่าปีนี้นอกจากความอร่อยที่ไม่เหมือนใคร เชฟปิ๊กเพิ่มความพิเศษให้คุณลูกค้าได้สัมผัสประสบการณ์ การทานข้าวแช่ในชุดเครื่องเบญจรงค์ ลายดอกราชพฤกษ์ ฝีมือช่างศิลป์ จากเมืองอยุธยา
ที่ทำขึ้นพิเศษ เพื่อเสิร์ฟข้าวแช่ ที่ร้านอาหารเรือนนพเก้าเท่านั้นค่ะ
หนึ่งชุด มีทั้งหมด 3 คอร์ส แต่ละคอร์สเป็นเมนูไทยโบราณคลายร้อน หอม สดชื่น ประกอบไปด้วย
– แตงโมหน้าปลาแห้ง
– ข้าวแช่และเครื่องเคียง 7 อย่าง ซึ่งน้ำข้าวแช่มาจากแหล่งน้ำแร่หมู่บ้านดอยงาม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย
– ของหวานอันชื่นใจ ส้มฉุนมะยงชิด
– ปิดท้ายล้างปากด้วยการดื่มชาถวายตัวสักด้วย

ราคาเพียงท่านละ 699 ++ บาท
(เฉพาะทานที่ร้านเท่านั้น ซึ่งจะมีเสิร์ฟเอ็กซ์คลูซีฟเพียง 18 ชุดต่อวันเท่านั้น ตั้งแต่วันที่ 22  มีนาคม ถึง
31 พฤษภาคม 2564 มื้อกลางวัน ตั้งแต่เวลา 11.30  รอบสองเวลา 15.00 น.
สำหรับชุดกลับบ้าน ข้าวแช่และเครื่องเคียงจัดใส่ไว้ในตะกร้าสาน พร้อมขนมทองนพเก้า 1 กล่อง ใน
ราคาเพียง 1,299 บาทถ้วน ต่อ 2 ท่าน
เรามีชุดสำหรับคุณลูกค้ามุสลิมด้วย สามารถสั่งจองล่วงหน้าได้เช่นกัน

รีวิว ข้าวแช่ที่ร้านอาหารเรือนนพเก้า – Ruen Noppagao

แตงโมหน้าปลาแห้ง โดยปลาแห้งได้มาจากการนำปลาช่อนแดดเดียวจากจังหวัดสิงห์บุรี นำมาย่างเอง จากนั้นนำมาโขลกให้ฟูหลังจากนั้นนำมาผัดให้แห้งปรุงรสด้วยน้ำตาลทราย เกลือ หอมแดงเจียว เสิร์ฟพร้อมกับแตงโมแช่เย็น

มีลูกกะปิ สำหรับกะปิที่นี่หอมเค็มกลมกล่อมกำลังดี ใช้กะปิจากระนอง ที่โขลกกะปิ ตะไคร้ กระชาย หัวหอม กะทิ ปั้นเป็นก้อนพอดีคำชุบไข่กับแป้งทอดให้เหลืองและเทคเจอร์เข้ากันอย่างลงตัว หอมแดงสอดไส้ปลาแห้ง หอมแดงเป็นหอมแดงจากจังหวัดสุรินทร์ เป็นหอมแดงที่สอดไส้ปลาแห้ง ก่อนนำมาชุบไข่และแป้งลงทอด .ไข่เค็มชุบแป้งทอด อร่อย มันเค็มไปกับไข่แดงชั้นดีและนำมาชุบแป้งทอด พริกหยวกสอดไส้ ไข่ที่ห่อพริกหยวกเชฟจะทอดจนกรอบเป็นตาข่ายสวยงาม นำพริกหยวกมาคว้านเมล็ดยัดไส้หมูสับปรุงรสแล้วนำไปนึ่ง ก่อนห่อด้วยไข่ตาข่าย ,หัวไชโป๊วหอมผัดน้ำมันหมู นำหัวไชโป้วไปผัดกับน้ำตาลมะพร้าว ปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายและเกลือ ผัดจนกระทั่งได้เส้นหัวไชโป้วที่มีความวาวใส สวยงาม กรุบกรึบ ,แถมด้วยผักสด ประกอบด้วย มะม่วงเปรี้ยว ต้นหอม กระชาย แตงกวา โดยผักส่วนใหญ่รับมาจากแปลงผักปลอดสารพิษที่มีการปลูกด้วยนวัตกรรมสุดพิเศษ

ตัวข้าวค่ะ ข้าวมาจากสุรินทร์ ต่อมาจะเข้าสู่ส่วนหลักของชุดข้าวแช่นี้ ซึ่งประกอบด้วยข้าวแช่ น้ำลอย และเครื่องเคียง ๗ อย่าง ประกอบด้วย ลูกกะปี หอมแดงสอดไส้ปลาแห้ง ไข่เค็มชุบแป้งทอด พริกหยวกสอดไส้ หมูฝอย ปลาช่อนแดดเดียวผัดหวาน หัวไช โป๊วหอมผัดน้ำมันหมู และเครื่องเคียงผักต่างๆสำหรับกินแนม

สำหรับน้ำข้าวแช่ได้ มาจาก แหล่งน้ำแร่จากหมู่บ้านดอยงาม อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย แล้วนำมาฆ่าเชื้อด้วยการต้ม ในอุณหูภูมิ  องศาเซียสเซล เป็นเวลา 15 นาที และทิ้งไว้ให้เย็นในโอ่งดินเผาเป็นเวลา 3 วัน

สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดคะตามกันด้วยของหวานสุดแสนจะนิยมกันไปทั้งพระนครสำหรับฤดูร้อนในอดีต ส้มฉุน นั่นเอง เมนูสาม ส้มฉุนมะยงชิด เป็นเมนูคลายร้อนที่สำหรับคนไทยในสมัยอดีต ที่จะนิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อน

ชาถวายตัว ชาถวายตัวนี้มีเรื่องราวมาจากหม่อมเจ้าสาย ลดาวัลย์ ซึ่งเป็นอัครชายาในหลวงรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระองค์ทรงจดบันทึกไว้ว่า ก่อนที่นางในจะถวายตัวให้กับเจ้านายหรือพระมหากษัตริย์จะนิยมดื่มชานี้ เนื่องจากส่วนประกอบของชานี้จะมีใบขลู่ จะช่วยขับของเสียออกจากทางเหงื่อ และเค้าเชื่อกันว่ากลิ่นเหงื่อครั้งที่ 2 จะเป็นกลิ่นดอกไม้หอม เนื่องจากว่าจะมีส่วนประกอบของ ดอกจำปี จำปา ลีลาวดี และกระดังงาไทย ชานมัสการจากสวรรค์บนดิน จังหวัดเชียงราย ชาจากหมู่บ้านดอยงาม ชาจากหมู่บ้านห้วยหินลาดใน และชาจากหมู่แม่จันใต้ ชาทั้งหมดนี้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยเท่านั้น  หลังจากดื่มไปแล้วกลิ่นตัวหญิงสาวจะหอมอบอวบไปทั้งกายคะ นี่คือเรื่องเล่าจากในอดีตมายาวนานสำหรับเรื่องชาถวายตัว

ปรุงรสชาติอาหารไทยแท้ต้นตำรับ100 เปอร์เซ็นต์ด้วยเชฟหนุ่มหัวใจโบราณ

คณิน สินพันธ์ หรือเชฟปิ๊ก

คณิน สินพันธ์ หรือเชฟปิ๊ก ขณะนี้ทำงานในตำแหน่ง Chef Manager ร้านเรือนนพเก้า สาทร ๖ ซึ่งเส้นทางการเริ่มต้นในสายอาหารของผมนั้นได้เกิดขึ้นมาตั้งแต่วัยเยาว์ของกระผมเลย ซึ่งผมได้ช่วยคุณยายทำอาหารมาตั้งแต่เล็ก เนื่องจากที่บ้านนั้นคุณยายชอบทำอาหารขายในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และในวันหยุดของผมนั้นก็จะมีหน้าที่เตรียมวัตถุดิบในการทำอาหารให้คุณยายในทุกๆเช้า ในแต่ละวันหยุดนั้นคุณยายจะทำเมนูที่แตกต่างกันไปแล้วแต่อาทิตย์นั้นว่าจะได้วัตถุดิบชนิดใดมาจากตลาด หรือฤดูกาลใดมีวัตถุดิบนั้นเยอะคุณยายก็จะรังสรรค์เมนูขึ้นมาทำขายบริเวณหน้าบ้านในช่วงวันหยุด ซึ่งผมก็ได้เรียนรู้ วิธีการทำอาหารพร้อมทั้งเทคนิคในแต่ละเมนู อาทิเช่น กล้วยน้ำว้าเชื่อม ทอดมันรังนก น้ำยาขนมจีน ไก่ย่าง เป็นต้น พอขึ้นระดับมัธยมศึกษาตอนปลายก็มุ่งมั่นในชีวิต เพื่อที่อยากจะประสบความสำเร็จในด้านการทำอาหารพร้อมคิดและใฝ่ฝันว่าสักวันหนึ่งเราจะเรียนต่อที่วิทยาลัยดุสิตธานี เพื่อที่จะสานฝันชีวิตของตัวเองเพื่อที่จะเป็นเชฟที่ดีและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวอาหารให้คงอยู่ต่อไป แต่วันที่ได้บอกกับคุณพ่อคุณแม่ว่าจะเรียนต่อที่ใดนั้น เป็นวันที่ความฝันได้ดับลงไปเนื่องจากคุณพ่อคุณแม่อยากให้เรียนที่ใดก็ได้ในประเทศไทยแต่จะต้องรับพระราชทานปริญญาบัตรกับเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินเท่านั้น

สุดท้ายผมจึงได้มาศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ สาขาอาหารและโภชนาการ จากการที่ได้ศึกษาเล่าเรียนอยู่นั้นก็ได้เป็นตัวแทนของภาควิชาในการแข่งขันการทำอาหารหลายรายการก็มีได้รางวัลบ้างและไม่ได้รางวัลบ้าง ทุกครั้งที่ไปแข่งขันการทำอาหารบอกกับตัวเองเสมอว่า “นี้คือห้องสมุดแห่งการเรียนรู้ที่ยิ่งใหญ่และนำความผิดพลาดในการแข่งขันการทำอาหารมาเป็นบททดสอบในการทำในครั้งต่อไป” ซึ่งการเรียนรู้การทำอาหารของผมนั้นได้เรียนรู้จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทั้งจากในชีวิตจริงและตำรับอาหารที่หาได้ตลอดเวลา

พร้อมกับในปัจจุบันนี้สื่อและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยสามารถค้นคว้าข้อมูลได้ตลอดเวลาซึ่งทำให้ผลได้เรียนรู้อาหารที่แปลกใหม่และล้ำสมัยมากในปัจจุบัน ซึ่งในตอนนี้ผมได้ทำตามความฝันให้กับครอบครัวอันเป็นที่รักแล้ว และผมได้เดินตามความฝันของผม คือ การเรียนทำอาหารที่ผมชื่นชอบมาตั้งแต่เด็ก ๆ ผมได้ลองไปสมัครเรียนทำอาหารที่ โรงเรียนวิชาการแห่งโรงแรมโอเรียลเต็ล ซึ่งผมเลือกเรียนอาหารไทย และผมก็มีโอกาสในการเรียนทำอาหารที่นั้นตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผมได้ฝึกฝนและเรียนรู้การทำอาหารไทยซึ่งผมมีเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า ‘เมื่อวันใดวันหนึ่งถ้าผมประสบความสำเร็จในการเดินสายอาชีพเชฟอาหารไทยแล้ว ผมจะอุทิศตนให้กับสังคมโดยการสอนทำอาหารไทยที่ผมได้เรียนรู้มาพร้อมกับศึกษามาตลอดทั้งชีวิต สอนให้ฟรีโดยไม่แสวงหาผลกำไร’ นี้คือแรงผลักดันในการทำอาหารไทยของผมจนถึงทุกวันนี้
ผมมีผลงานในการแข่งขันการทำอาหารหลากหลายเวที ได้เข้าร่วมแข่งขันทำอาหารจากรายการ เชฟสุดขั้วครัว ๒ โลก ออกอากาศทางช่อง ๓๓ รายการยุทธภูมิปลายจวัก ออกอากาศทาง ไทยพีบีเอส และได้รางวัลชนะเลิศ เหรียญทอง อันดับ ๑ ประเภทอาหารไทยโบราณ Thailand’s International Culinary Cup ๒๐๑๗ – ๒๐๑๘ ณ ไบเทค บางนา อีกด้วย
ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความภาคภูมิใจในการเดินทางของสายการทำอาหารของผมตั้งแต่วัยเด็กจนถึงทุกวันนี้ และอนาคตข้างหน้านี้ผมก็ยังอยากจะถ่ายทอดเรื่องราวของอาหารไทยให้คนทั้งโลกให้รับรู้และซึมซับวัฒนธรรมอาหารไทยตลอดไป

 

ร้านอาหาร เรือนนพเก้า

พิกัด : สาทร ซอย 6 แขวง สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500 เบอร์โทร : 02 116 3317

Facebook: https://www.facebook.com