“JAPANISM” Part 2
Shunrunn no Sato บ้านชาวนา ผู้มั่งคั่ง

มีสุภาษิตบทหนึ่งกล่าวว่า “สิบปากว่า มิเท่าตาเห็น สิบตาเห็นมิเท่าลงมือทำ” การจะให้เข้าใจและรู้จักคนญี่ปุ่นจริงๆก็ต้องมาใช้ชีวิตร่วมกัน แม้เพียงคืนเดียวถ้าเราตั้งใจนั่งฟังก็ทำให้เข้าใจคนญี่ปุ่นได้มากขึ้นทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งชีวิตคนต่างจังหวัดที่เป็นคนรุ่นเก่าแก่ ที่ยังมีค่านิยมแบบดั้งเดิม เคยได้ยินคำที่ว่าอยากรู้จักรากเหง้าของชนชาติไหน ให้เข้ามิวเซียมไหม? การมาอยู่กับคนแก่ที่นี่คือการเข้ามิวเซียมพูดได้นั่นเอง

ตำบลเล็กๆแห่งนี้รวมตัวกันทำเป็น Homestays เน้นให้เด็กๆ ในเมืองใหญ่ กลับมารู้จักและลองใช้ชีวิตแบบเกษตรกรในชนบทอย่างน้อย 3 วัน เกษตรกรซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวนา ถูกคัดเลือกให้มาร่วมโครงการ ทั้งพวกเขาและเราไม่มีสิทธิ์เลือกว่าใครจะอยู่บ้านหลังไหน แล้วแต่ดวงใครจะสมพงษ์กัน และแล้วพี่ก็แสนจะโชคดีที่ได้บ้านชาวนาที่ อุปนิสัย ใจคอ เสมือนพิมพ์เดียวกันกับพี่ คือ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่ ไม่ทานสัตว์ใหญ่ทุกชนิด พระเจ้ามันช่างเป็นการบังเอิญ ที่เค้าจับฉลากได้ชื่อพี่จริงๆ ที่นี่พี่เรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นแบบพื้นเมือง ฟังอยาก ฟังลำบากแต่เราเข้าใจกันลึกซึ้งยิ่ง

บ้านที่เราไปพักเป็นบ้านไม้ 2 ชั้นหลังใหญ่ มีสวนสวยงามที่เจ้าของบ้านบรรจงแต่งด้วยตนเองพี่แอบปลื้มใจว่าเอ่อนะ เราชอบสวนก็ได้บ้านที่มีสวยงาม เราถูกเชิญเข้าไปในบ้าน ทางเข้าบ้านมีห้องดูTV ที่วางตุ๊กตาน่ารักๆเอาไว้มากมาย แหม่!! ช่างเหมือนบ้านฉันจริงๆ พี่เดินยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ผ่านไปจนเจอห้องนั่งเล่นขนาด 35 ตรม. และมีที่นอนปูไว้เรียบร้อยบนพื้นพรหม หรือที่เรานิยมเรียกกันว่า ฟุตงนั่นเองผิดกันก็แต่มิได้ปูบนเสื่อตาตามิ แต่ปูบนพรมหนานุ่มแบบกันหนาวแทน และอีกฝากของที่นอนเป็นเบาะนั่งกับพื้นมีโต๊ะวางถ้วยน้ำชาตั้งรอรับเราอยู่ ทุกอย่างก้าวพี่กวาดสายตามองอย่างพินิจพิเคราะห์ละเอียดละออเพราะพี่กลัวฝุ่น เนื่องจากเป็นภูมิแพ้ แต่ไม่ว่าจะแอบเอานิ้วแตะไปตรงจุดใดของบ้านก็สะอาดสะอ้านจนโล่งใจบ้านคนญี่ปุ่นคล้ายๆ บ้านอกของพี่คือลักษณะโล่งโปร่ง เปิดรับลมได้ทุกทิศทาง ที่นอนก็คือเอาฟูกมาปูนอน พอเช้าก็เก็บเปลี่ยนจากห้องนอนเป็นห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ฯลฯ แล้วแต่ชอบ

ส่วนเจ้าบ้านเป็น ผู้ชายอายุ 77 ปี อดีตเป็นนายธนาคาร ผู้หญิงอายุ 72 ปี เป็นแม่บ้านที่ต้องเลี้ยงลูกชายสองคนที่ตอนนี้โตแล้วและเข้าไปทำงานในโตเกียว เค้าเล่าย้อนไปเมื่อ 50 ปี ที่แล้วทั้งคู่แต่งงานกัน หมดเงินไปเป็นล้านๆ เยน แต่นั่นไม่สำคัญเท่าสมัยนั้นมีการถ่ายรูป Pre wedding ที่สวยงาม และที่สำคัญงานแต่งงานใหญ่โตมโหฬาร มีการตัดเค้ก มีกระเช้าที่ค่อยๆ หย่อน เจ้าบ่าวและเจ้าสาวลงมา ทั้งสองคนแย่งกันเล่าให้พี่ฟังด้วยสายตาที่เปี่ยมไปด้วยความสุข พี่นั่งฟังไปน้ำตาซึมไปเพราะหวนระลึกถึงตอนที่คุณพ่อเล่าว่า ”สมัยพ่อและแม่แต่งงานกันนะมี…” พี่ยอมรับว่าสมัยนั้นเบื่อฟังเรื่องของพ่อ แม่มากแต่พอทั้งสองท่านลาลับไป พี่ก็ได้แต่คิดถึงอดีตของท่านและอยากจะฟังเรื่องนั้นซ้ำแล้วซ้ำอีก และอดนั่งยิ้มคนเดียวไม่ได้เมื่อคิดถึง พอเจอเหตุการณ์นี้จากคู่สามี ภรรยาชาวญี่ปุ่นพี่จึงตั้งใจฟังและพยายามเค้นความสามารถ ที่จะหาคำศัพท์,คำถาม และคำชมเป็นภาษาญี่ปุ่นออกมา ยอมรับว่าเครียดเพราะตั้งใจและมีความสุขมากๆในเวลาเดียวกัน พี่เชื่อว่า ลูกๆเค้าก็เบื่อฟังเช่นกันยังไม่จบง่ายๆ แกบอกว่าแกเป็นนักแสดงที่ร่วมในงานพิธีต่างๆ สมัยหนุ่มๆแกเก่งและแข็งแรงมาก ในเรื่องของความแข็งแรง แกเล่าด้วยรูปคุณพ่อที่เพิ่งจะเสียชีวิตไปว่า พ่อฉันอายุ 103 ปีเชียวนะบ้านเราอายุยืนทุกคนเพราะอยู่กับธรรมชาติทานแต่ผัก ผลไม้ และปลา,บ้านเราไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุราเพราะไม่ดีต่อสุขภาพร่างกาย

HONNOKIMUJI DESU น้ำใจเล็กๆน้อยไม่ได้มีค่าอะไรเลย คือคำที่คนญี่ปุ่นกล่าวก่อนส่งมอบของฝากให้กันเสมอๆ พี่กล่าวคำนี้พร้อมทั้ง มอบผ้าสโล่งแบบไทย,กล่องทิชชู่ลายไทย,กระเป๋านารายาใบใหญ่และใบเล็ก รวมถึงมะม่วงน้ำดอกไม้สีทองที่นำไปฝากเจ้าของบ้าน เรียกว่า “แจกถล่มทลาย ขายชาติกันเลยค่ะ” ต่อให้เคยเกลียดคนไทยขนาดไหน ก็จะมลายไปสิ้น พี่เชื่อแบบนั้นนะ ดังนั้นทุกที่ทุกประเทศถ้าคนอย่างพี่เยี่ยบย่างไปพี่ จึงต้องมีของเล็กๆน้อยๆไปแจกคนท้องถิ่นเสมอๆ เพื่อประกาศว่า ทุกประเทศมีทั้งคนดี คนเลว คนมีน้ำใจ และคนแล้งน้ำใจ หาเหมือนกันไม่เฉกเช่นฉันก็เป็นคนไทยคนหนี่งที่พยายามปฏิบัติดีต่อคุณ

มีคำถามจากเพื่อนว่า แกคิดได้อย่างไรว่าต้องเอาของมาฝากเค้า แค่ของต้องใช้ของเราก็เต็มกระเป๋าแล้ว อันนี้ง่ายมาก แค่เราฝึกคิดถึงคนอื่นก่อนคิดถึงตัวเราเอง ลองดูแล้วคุณจะรู้จักคำว่า “ความสุขคือการให้มันเป็นอย่างไร

คำขอและคำอธิษฐานในศาลเจ้า เราไปต่อกันที่

ศาลเจ้าแห่งความรัก Keta Taisha ถึงตรงนี้ก็อดนึกถึง
โคลงบทหนึ่ง พี่ขออนุญาตเอามาแปลงให้ทันสมัยหน่อยนะคะ

“รักกันอยู่ขอบฟ้าเขาเขียว line ไปกิ๊กเดียวทราบได้

เกลียดกัน ชังกัน มากมาย ฟูมฟายโทรไปหายังไม่เจอ”

ศาลเจ้าแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นมาอายุประมาณ 2,100ปี ผู้คนนิยมไปกราบไหว้เทพเจ้า Okuninushi เทพเจ้าแห่งความรัก มีป้ายมากมายหลากหลายภาษาแม้แต่ภาษาไทยก็มี มาแล้วเราต้องซื้อแผ่นป้ายไม้ (ema)เขียนคำอธิษฐานกันหน่อย ที่นี่มีประตูที่ได้รับเลือกให้เป็น สมบัติทางวัฒนธรรมคือประตู Shinmon ความเป็นมาเป็นอย่างไรไม่มีโอกาสได้ใต่ถามคนแถวนั้นเลยคะ

เป็นอย่างไรบ้าง กับเรื่องราวของญี่ปุ่น ? แต่…จะจบดื้อๆ ก็กระไรอยู่ ไปดูพิพิธภัณฑ์ทองคำแห่งคานาซาวะกันดีกว่านะ ที่นี่จะรวบรวมงานหัตถศิลป์ ที่ทำมาจากทองคำอันล้ำค่า แม้แต่ไอศกรีมก็ยังต้องปิดทอง ขาดแต่มิได้ฝังลูกนิมิต, เครื่องสำอางค์ทองคำ เหล้าทองคำกาแฟทองคำ ซึ่งมีขายที่นี่เท่านั้น เรียกว่าเคลิ้มฝันเป็นทองกันเลย มาแล้วถ้าไม่มีของฝากก็จะแล้งน้ำใจไปหน่อยนะ พี่จึงซื้อเครีมบำรุงและมาร์คทองคำมาแจกแฟนคลับที่พยายามทนอ่านเรื่องราวอันกวนฝ่าเท้าของพี่ ง่ายๆค่ะ พี่ขอมอบ มาร์คทองคำ

กติกานะคะสำหรับผู้ที่ กด Like เพจ Priew Online และกดแชร์ เรื่องราวของพี่ และติด# เพื่อนๆ ใครที่ติด# เพื่อนมากที่สุดเป็นของรางวัลสูงค่าก็ต้องสู้กันหน่อยนะ

– อันดับ 1 รับชุดเครื่องสำอางค์ทองคำอันเลอค่า สนนราคาอยู่ที่ 7,000- เยน 1 ชุด ประกอบด้วยน้ำตบ 1 ขวด

และครีมบำรุงกลางวัน 1 กระปุก ครีมชุดนี้มีขายเฉพาะที่เมืองนี้และที่พิพิธภัณฑ์ทองคำเท่านั้นค่ะ

– อันดับ 2 รับโฟมล้างหน้าทองคำมูลค่า 3,500 เยน

– อันดับ 3-4-5 รับมาร์คหน้า ทองคำ 1 ซอง มี 10 ชิ้น

รางวัลทั้งหมดมี 5 รางวัลนะค่ะ รีบมาร่วมสนุกกับพี่นะคะ

สู้ต่อไปทาเคชิ เอ่อ ว่าแต่ ทาเคชิเป็นใคร? พี่เคยได้ยินเพื่อนพูดเลยพูดบ้าง และพี่จะมีของมาฝากทุกครั้งที่ออกเดินทาง อย่าลืมมาอ่านกันนะ พี่ชอบแจก (จบนะ)

อ้อๆๆๆ ก่อนลาจาก อย่าดุพี่เรื่อง คำผิด คำพลาดเลยนะ พี่แก่แล้ว ตาก็ยาวมาก และใช้เวลาตอนดึกๆ เขียนเพื่อแชร์ประสบการณ์ชสนุกๆ ขอความกรุณาดูที่เจตนาที่พี่พยายามนำเสนอด้วยนะ/ขอบคุณมากมายเลยคร่าาาาา.

Story / Photo : K