วีรศักดิ์ ภูมิใจ “อีสานเดิ้น” พร้อม!! เตรียมโชว์อัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่สากล ผ่านงาน  Buy With Confidence Gems & Jewelry Fest วิบวับกลางใจเมือง พฤศจิกายน นี้

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT เดินหน้า โครงการพัฒนาเครื่องประดับชนเผ่า เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งดินแดนอีสานใต้ (อีสานเดิ้น) 5 จังหวัดอีสานใต้
ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี พร้อมโชว์ไอเดียสุดบรรเจิด สู่เวทีสากล ผ่านงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Buy With Confidence (BWC) Gems & Jewelry Fest ระหว่างวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2563

นายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า อัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย ทั้งในด้านการส่งออก และ การบริโภคในประเทศ ตั้งแต่ต้นน้ำ – ปลายน้ำ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ช่วยสร้างและกระจายรายได้ให้แก่ช่างฝีมือ และผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค และสามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้ปีละหลายแสนล้านบาท

สำหรับช่วงวิกฤต Covid 19 ที่ผ่านมา เพื่อหาแนวทางเยียวยา และ ช่วยเหลือผู้ประกอบการในภาวะที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตดังกล่าว จึงได้สั่งการให้สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐที่ดูแลด้านอัญมณีและเครื่องประดับของประเทศ ภายใต้การดูแลของกระทรวงพาณิชย์ ได้จัดทำโครงการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือ และ เตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ ในการพัฒนาศักยภาพตนเอง และ องค์กร ทั้งด้านเทคนิค การผลิต และ การตลาด โดยเฉพาะผู้ประกอบการในภูมิภาคอีสานใต้ ที่มีสินค้าซึ่งมีความโดดเด่นทั้งเอกลักษณ์และงานฝีมือ ซึ่ง GIT ได้ลงไปพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการใน “โครงการพัฒนาเครื่องประดับชนเผ่า เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งอีสานใต้ หรือ อีสานเดิ้น” 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา และอุบลราชธานี โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมถึง 417 ราย และมีผู้เข้าอบรมเชิงลึก และ พัฒนาแบบสร้างสรรค์เอกลักษณ์ของ “อีสานใต้” จำนวน 20 ราย ร่วมกับ นักออกแบบแถวหน้าของประเทศ 5 ท่าน ได้แก่ นางสาวภิรดา เสนีวงศ์ ณ อยุธยา จาก Trimode Studio นายวรชัย ศิริวิภานันท์ จาก Basic Teeory  นางสาวสิริการย์ จิรัฏฐ์ภาสกรกุล จาก Saprange Craft Jewelry  นายปฏิพัทธ์ ชัยวิเทศ จาก Patipat  และ นายรัฐ เปลี่ยนสุข จาก Sumphat Gallery เกิดเครื่องประดับอัตลักษณ์ท้องถิ่นที่เกิดจากการสร้างสรรค์ภายในโครงการจำนวน 5 คอลเลคชั่น ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อยอด และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในท้องถิ่นอย่างแท้จริง และ ยั่งยืน – รัฐมนตรีช่วย กล่าวทิ้งท้าย

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย รองผู้อำนวยการ รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เสริมว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และสถานการณ์โรคโควิด – 19 ส่งผลไปยังภาคธุรกิจ การค้า และ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยลดลง จากมาตรการ การกักตัวเพื่อควบคุมโรค ยอดการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวในการเลือกซื้ออัญมณีและเครื่องประดับจึงมีอัตราที่ลดลง ทำให้ผู้ประกอบการเกิดความกังวล โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคต่างๆ เพื่อเป็นการสนับสนุน และ สร้างช่องทางการจำหน่ายให้กับผู้ประกอบการในภูมิภาคที่เข้าร่วมโครงการ “อีสานเดิ้น” นี้ สถาบันได้นำผู้ประกอบการที่มีศักยภาพเข้าร่วมออกบูธจำหน่ายสินค้า ร่วมกับ ผู้ประกอบการในโครงการซื้อด้วยความมั่นใจ ในงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ Buy With Confidence (BWC) Gems & Jewelry Fest ระหว่างวันที่ 16 – 22 พฤศจิกายน 2563 ณ ลานโปรโมชั่น G สามย่านมิตรทาวน์ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น.

ซึ่งการจัดงานแสดงสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้กับผู้ประกอบการ สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ตามนโยบาย “ไทยช่วยไทย” ของภาครัฐ พร้อมกระตุ้นความมั่นให้กับผู้บริโภค ผ่านโครงการซื้อด้วยความมั่นใจผ่านใบรับรอง GIT (Buy With Confidence (BWC)) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว ที่ซื้อสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในประเทศไทย ซึ่งช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และทำให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทย